บทที่ 7 แก๊สและสมบัติของแก๊ส

Spread the love

7.1 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ และจำนวนโมลของแก๊ส

7.2 กฎแก๊สอุดมคติ และความดันย่อย

7.3 ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส

7.4 การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊ส และสมบัติของแก๊ส

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและความดันของแก๊ส และคำนวณปริมาตรหรือความดัน โดยใช้ความสัมพันธ์ตามกฎของบอยล์

2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและอุณหภูมิของแก๊ส และคำนวณปริมาตรหรืออุณหภูมิ โดยใช้ความสัมพันธ์ตามกฎของชาร์ล

3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความดันและอุณหภูมิของแก๊ส และคำวณความดันหรืออุณหภูมิ โดยใช้ความสัมพันธ์ตามกฎของเกย์-ลูสแซก

4. คำนวณปริมาตร ความดัน หรืออุณหภูมิของแก๊สที่ภาวะต่าง ๆ ตามกฎรวมแก๊ส

5. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส และคำนวณปริมาตรหรือจำนวนโมลโดยใช้ความสัมพันธ์ตามกฎของอาโวกาโดร

6. คำนวณปริมาตร ความดัน อุณหภูมิ จำนวนโมล หรือมวลของแก๊ส โดยใช้ความสัมพันธ์ตามกฎแก๊สอุดมคติ

7. คำนวณความดันย่อยหรือจำนวนโมลของแก๊สในแก๊สผสม

8. อธิบายกฎต่าง ๆ ของแก๊ส โดยใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

9. อธิบายการแพร่ของแก๊ส โดยใช้ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

10. อธิบายความสัมพันธ์ของอัตราการแพร่กับมวลต่อโมลของแก๊ส

11. คำนวณและเปรียบเทียบอัตราการแพร่ หรือมวลต่อโมลองแก๊ส โดยใช้กฎการแพร่ผ่านของเกรแฮม

12. สืบค้นข้อมูล อธิบายปรากฏการณ์ และยกตัวอย่างการนำความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊สไปใช้ประโยชน์